อาคารในทุกอาคารนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีระบบเตือนไฟ แทบทุกอาคาร แต่เมื่อติดตั้งไปนานๆเข้า ระบบต่างๆกลับไม่ได้ถูกใช้งาน นั่นหมายถึงว่าภัยทางอัคคีภัย หรือภัยอื่นๆไม่ได้เกิดขึ้นกับอาคารนั้นๆ นั่งเอง ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีแก่ผู้ที่พักอาศัยและทำงานในอาคารนั้น ๆ แต่ใครจะรู้ว่าปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และเมื่อระบบป้องกันไฟ หรือระบบไฟฉุกเฉินนั้น จะสามารถใช้งานได้หรือไม่ ดังนั้นแล้วเราควรจะมีการดูแลรักษา ระบบป้องกันไฟ และระบบไฟฉุกเฉินให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้ ซึ่งวันนี้เราจะมากล่าวถึงการดูแลระไฟฉุกเฉิน เพื่อทำความเข้าใจในการดูแลให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ดังนี้ 1. กล่าวคือ เราต้องทำการเสียบปลั๊กเครื่องไฟฉุกเฉินเข้ากับไฟ AC 220 V เอาไว้ตลอดเวลา เพื่อให้แบตเตอรี่มีการชาร์ตไฟไว้อยู่ตลอดเวลา จะเห็นได้ว่าในบางครั้งบางที่ มีการถอดสายไฟปลั๊กออก เพื่อประหยัดไฟ แต่นั่นเป็นการทำให้แบตเตอรี่ไม่ได้รับการชาร์ตไฟสม่ำเสมอ นั่นก็อาจจะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมคุณภาพการใช้งานได้ 2. ควรมีการทดสอบตามระยะที่ทาง วสท. 2004-51 ได้ทำการกำหนดไว้ กล่าวคือ มีการทดสอบตามที่ทางสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยได้กำหมดเอาไว้แก่อาคารคือ มีการทดสอบทุก 3 เดือน และมีการทดสอบทุก 1 ปี โดยจะเป็นการทดสอบว่าแบตเตอรี่ทำงานได้ปกติหรือไม่ 3. ถ้าเกิดทดสอบแล้วว่าระบบไฟฉุกเฉินทำงานผิดพลาด ไม่ควรซ่อมเอง ควรแจ้งให้แก่ผู้ติดตั้งระบบไฟฉุกเฉินมาทำการแก้ไขให้ถูกต้อง จะเห็นได้ชัดว่า ปัญหาเกี่ยวกับระบบป้องกัน ไม่ควรมองข้าม เพราะเมื่อเกิดปัญหาขึ้นจริงๆ Continue reading →